โรคซึมเศร้าหมายถึงภาวะการเจ็บป่วยทางอารมณ์ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการสุญเสียผิดหวังการถูกทอดทิ้งและอาจสามารถเกิดขึ้นเองจากสังคมรอบข้างที่เลวร้ายเช่น เจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่เข้ามาอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการหม่นหมอง หงุดหงิดง่าย ขาดความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง น้ำหนักลดลงหรือมากขึ้นอย่างรวดเร็วอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง เป็นต้น
ผลวิจัยส่วนใหญ่พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่ทว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเพศชายมีจำนวนมากกว่า ซึ่งเมื่อเพศชายเกิดอาการเครียดหรือซึมเศร้าขั้นรุนแรง พวกเขาจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิงอีกด้วย ช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คนและเสียชีวิตราว 4,000 คน ถือเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของไทย
ข้อมูลของศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ยังระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยผู้ป่วยจำนวน 100 คน สามารถเข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น และทำให้คนไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ผู้ที่มีเกณฑ์เป็นโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการชัดเจนในช่วงอายุ 25 ปีหลังจากนั้นอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจในระยะยาวได้ฉะนั้นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรเข้ารับการรักษาและติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด
วิธีการรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายวิธี ทั้งวิธีรักษาทางจิตใจ หรือว่าการใช้ยารักษาเพื่อปรับสมดุลเคมีภายในสมอง อย่างไรก็ตามวิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ การให้ผู้ป่วยปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม โดยเน้นไปที่สาเหตุและแรงกระตุ้นของปัญหานั้นๆเพื่อให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมแง่ลบที่มีต่อตนเอง
ถ้าคุณต้องการใครสักคนเป็นเพื่อนพูดคุย สามารถโทรไปปรึกษาได้ที่สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย 02-7136793 เวลา 12.00-22.00 น. หรือ สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323
Author Profile
