สาเหตุของ BPD บุคลิคภาพแปรปรวน จาก Jeffrey Young

สาเหตุของ BPD บุคลิคภาพแปรปรวน จาก Jeffrey Young รวมถึงอาการ (mode ต่างๆ)

จุดเริ่มต้น ของบุคลิกแบบบอร์เดอร์ไลน์ (Origin of borderline personality disorder) เจฟฟรีย์ ยัง (Jeffrey Young) รวบรวมความรู้จากวารสารการแพทย์และประสบการณ์การติดตามรักษาผู้ป่วย พอจะสรุปว่าต้นเหตุของบุคลิกแบบบอร์เดอร์ไลน์ (borderine personality BPD) มีที่มา 2 ทางคือครอบครัวมีปัญหา ผิดปกติทางชีวภาพ และการมีความบกพร่อง

สาเหตุจากครอบครัว ครอบครัวของผู้ป่วยบอร์เดอร์ไลน์ (borderline patient) มีความผิดปกติหรือความบกพร่อง 4 ประการด้วยกัน

คือ

1. ไม่ปลอดภัย อาจเป็นความไม่ปลอดภัยทางร่างกาย เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย การถูกล่วงเกินทางเพศ การถูกข่มขืน การถูกทำ ร้ายด้วยวาจา หรือความไม่ปลอดภัยทางจิตใจ เช่น ความหวาดกลัวว่าจะ เกิดความรุนแรงวุ่นวายหรือโกรธกัน ตัวอย่างผู้ป่วยรายหนึ่งมีพี่ชาเป็น โรคจิตชอบทำร้ายทุบตีผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยถูกทำร้าย แม่ไม่ช่วยกลับกล่าว โทษว่าผู้ป่วยเป็นผู้ผิด เป็นต้นเหตุของการวิวาท

2. ขาดความรักความอบอุ่น ผู้ป่วยไม่มีความผูกพันอีก ใคร่กับพ่อแม่ อาจเป็นเพราะไม่มีพ่อแม่หรือพ่อแม่ไม่รักผู้ป่วยอย่างเสมอต้นเสมอปลาย พ่อแม่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ใจผู้ป่วย ดังตัวอย่างผู้ป่วย รายเดียวกันนี้ แม่ไม่สนใจว่าผู้ป่วยรู้สึกอย่างไร แม่ไม่เป็นที่พึ่ง (ทางใจ) ของผู้ป่วยได้เลย

3. ถูกลงโทษรุนแรง พ่อแม่ตำหนิติเตียนลูกมากเกินไป รุนแรงเกินไป ไม่รักลูกจริง ตัวอย่างผู้ป่วยรายเดียวกันพ่อของผู้ป่วยเป็น คนแบบนี้ คือติเตียน ไม่รักลูก

4. กดเก็บ พ่อแม่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยแสดงความรู้สึก แสดงความต้องการอย่างอิสระ เด็กต้องกดเก็บความรู้สึกความต้องการ ของตน เด็กจะมีความรู้สึกว่าการแสดงออกเป็นความผิด ความไม่ดี

 

สาเหตุทางชีวภาพ ผู้ป่วยมีพื้นฐานทางอารมณ์รุนแรงกว่าเด็กปกติ นอกจากอารมณ์และความรู้สึกรุนแรงแล้ว อารมณ์ของเขาแปรปรวนมาก ความผิดปกตินี้ติดตัวเด็กมาแต่กำเนิด ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุทางชีวภาพ

 

อาการ (Symptoms)

อาการของผู้ป่วยบอร์เดอร์ไลน์ (borderline patient) BPD อาการ ที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ไม่แน่นอน เป็นอาการที่คลุมเครือ อาจเป็น เรื่องของอารมณ์แปรปรวน หรือเป็นปัญหาเอกลักษณ์ ผู้ป่วยไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร บางคนมีความโกรธตลอดเวลา เศร้ามีอาการสับสน บางคนบางครั้งมาพบแพทย์เพราะเขาทำร้ายตนเอง เช่น กรีดข้อมือแสดงท่าทีประหนึ่งจะฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยไม่มาหาแพทย์ เพราะมีปัญหา ชีวิต ปัญหาในการดำเนินชีวิตอย่างที่ผู้ป่วยโรคอื่นเป็นกัน

ผู้ป่วยบอร์เดอร์ไลน์ (borderline patient) มีลักษณะสำคัญ อย่างหนึ่ง คือบุคลิกของผู้ป่วยเปลี่ยนไปได้รวดเร็ว และบางครั้งเปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น เปลี่ยนจากรัก เป็นชัง จากดี เป็นเลว การเปลี่ยนอย่างนี้นักจิตวิเคราะห์ เรียกว่าเป็น “splitting” หรือภาษา ของ cognitive therapist เรียกว่า “all-or-nothing thinking.”

ผู้ป่วยบอร์เดอร์ไลน์ (borderline patient) มีบุคลิกเปลี่ยนไป ตลอดเวลาคล้ายผู้ป่วย multiple personality บุคลิกเปลี่ยนชนิดที่เป็น การเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง ไม่เหลือร่องรอยของบุคลิกก่อนที่เขาจะเปลี่ยน เช่น เปลี่ยนจากเป็นคนอ่อนน้อม ว่าง่าย มาเป็นคนใจร้อน โกรธเคือง ก้าวร้าว ไม่เกรงใจ เจฟฟรีย์ ยัง (Jeffrey Young) เรียกบุคลิกต่าง ๆ ของผู้ป่วยว่า “mode” ซึ่งมีอยู่ 4 แบบด้วยกันคือ

เด็กถูกทิ้ง (abandoned-child mode) ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนเด็ก ที่พ่อแม่ทิ้ง ไม่มีใครดูแล ไม่มีใครรัก ไม่มีคนห่วงใย ไม่มีคนปกป้อง คุ้มครอง ผู้ป่วยรู้สึกว่าช่วยตนเองไม่ได้เลยและไม่มีที่พึ่ง เป็นความรู้สึก ที่รุนแรงมาก ผู้ป่วยพยายามทุกวิถีทางที่จะหลุดพ้นจากบุคลิกหรือสภาพ เช่นนี้ เขาพยายามทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ถูกทิ้ง ดังนั้นถ้าในขณะที่ผู้ป่วยมี บุคลิกนี้โทรศัพท์ถึงแพทย์ขอให้แพทย์อย่าด่วนวินิจฉัยว่าผู้ป่วยรบกวน กลั่นแกล้ง (manipulation) ผู้รักษา อันที่จริงเป็นการร้องขอความ ช่วยเหลือของคนที่อับจน ผู้ป่วยยึดถือผู้รักษาเป็นพี่เลี้ยงที่ดีที่สุด เขาจึงโทรศัพท์มาปรึกษาดังนั้นการช่วยผู้ป่วยที่มีบุคลิกอย่างนี้ เป็นการช่วยผู้ป่วยในช่วงวิกฤติแล้วยังทำให้ผู้รักษาช่วยพัฒนาผู้ป่วยให้มี จิตใจเป็นผู้ใหญ่ขึ้นอีก

การแยกตัว (detached-protector mode เป็นบุคลิกแยกตัวเอง ไม่มีความต้องการอะไร ไม่อยากได้อะไร รู้สึก เฉย ๆ ผู้ป่วยมีบุคลิกภาพอย่างนี้ เพื่อจะไม่ต้องผิดหวัง เพื่อให้ปลอดภัย ) จากการถูกลงโทษ (จากการแสดงอารมณ์หรือมีความต้องการ) ไม่ต้อง เจ็บปวดใจ

อาการหรือลักษณะของผู้ป่วยที่อยู่ในบุคลิกนี้

ดีเพอร์ซันนอลไลเซชั่น (depersonalization)

รู้สึกห่างเหิน ไม่ใกล้ชิด

รู้สึกว่างเปล่า เบื่อ

ใช้ยาหรือสารเสพติด ถ้าเคยใช้เป็นประจำอยู่แล้วก็ใช้ มากขึ้น เพื่อระงับความรู้สึกปวดร้าว

อาจทำร้ายตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาบ้าง

อาจมีอาการทางกายที่เกิดจากจิตใจ (psychosomatic

symptoms)

เป็นคนว่าง่าย เชื่อฟัง

ถ้าตั้งคำถามผู้ป่วยว่ารู้สึกอย่างไร เขาจะตอบว่า “ไม่มีอะไร โฉย ๆ” หรือ “ไม่มีรู้สึกอะไรเลย”

ถามว่าอยากทำอะไรในขณะนี้ ผู้ป่วยตอบว่า “ไม่ทราบ” หรือ “ไม่ต้องการอะไร”

ถามว่ารู้สึกต่อผู้รักษาอย่างไร “ไม่มีอะไรพิเศษ” “เฉย ๆ” “ธรรมดา”

บุคลิกพ่อแม่ใจร้าย (punitive-parent mode) บุคลิกนี้หรือบทบาทนี้อันตรายมาก ผู้ป่วยลงโทษตัวเอง (ด้วยความรู้สึกเสมือนพ่อแม่ ลงโทษ) ที่ทําความผิด เพราะแสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ และความ ต้องการในตอนที่เป็น “เด็กถูกทิ้ง” (abandoned-child mode).

อาการ ผู้ป่วยแสดงอาการเกลียดตนเอง ตำหนิตนเอง ไม่ชื่นชมตน โกรธตนเองที่เป็นคนมีความอยากได้ เป็นคนไม่เก็บความรู้สึกเขาจะ ทำร้ายตนเอง

บุคลิกเด็กเจ้าอารมณ์ (angry-child mode) ผู้รักษา (therapist) ไม่ชอบผู้ป่วยที่อยู่ในบุคลิกนี้ เพราะผู้ป่วยตอบแทนความรัก ความปรารถนาดี ความช่วยเหลือทุ่มเทของผู้รักษา (therapist) ด้วย ความโกรธ ความไม่สำนึกบุญคุณ

อาการ ผู้ป่วยโกรธมาก หุนหัน เรียกร้อง กลั่นแกล้งรบกวน ทำอะไรให้ก็ไม่เห็นว่ามีคุณค่า ขู่เข็ญบังคับผู้อื่น (โดยเฉพาะผู้รักษา) สำส่อนทางเพศ ขู่จะฆ่าตัวตาย

หน้าที่ของผู้รักษา ช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นด้านดีของการแสดง อารมณ์ ซึ่งดีกว่าการกดเก็บ แล้วช่วยให้ผู้ป่วยแสดงอารมณ์อย่าง เหมาะสมให้ได้สิ่งที่ต้องการและผู้อื่นยอมรับการแสดงออกนั้น ผู้รักษา (therapist) อย่าห้ามผู้ป่วยแสดงอารมณ์ความรู้สึก เพราะถ้าทำเช่นนั้น ก็เหมือนพ่อแม่ใจร้าย (punitive parent)

 

Comments are closed.